ขอบเขตความรับผิดชอบ

 

ขอบเขตความรับผิดชอบ ของฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัย

  1. การประชุมสภามหาวิทยาลัย
  2. การสรรหา/แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัย
  3. การประสานงานคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
  4. การบริหารธุรการของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย
  5. การบริหารงานบุคคล พัฒนาบุคลากร และการจัดอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน
  6. การเงินและพัสดุ
  7. การประชุม สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
  8. การพัฒนาเว็บไซต์ และสื่อประชาสัมพันธ์
  9. การพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับสภามหาวิทยาลัย ได้แก่ ทำเนียบกรรมการสภาฯ ทำเนียบคณะกรรมการประจำสภาฯ  และข้อบังคับ/ระเบียบ/ประกาศ ที่ลงนามโดยนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นต้น
  10. การวิเคราะห์แผนและงบประมาณของสำนักงานสภาฯ
  11. การจัดทำรายงานประจำปีและเผยแพร่ข้อมูล
  12. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 

ขอบเขตความรับผิดชอบ ของฝ่ายติดตามและประเมินผล

  1. การประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลฯ และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ
  2. การวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ระดับมหาวิทยาลัยและระดับส่วนงาน
  3. การจัดทำรายงานผลการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย เสนอสภามหาวิทยาลัยปีงบประมาณละ 2 ครั้ง
  4. การพัฒนาระบบการติดตามผลการดำเนินงานตามมติหรือที่ได้รับมอบหมายจากสภามหาวิทยาลัย และคณะกรรมการประจำสภาฯ (STANDING COMMITTEE)
  5. การสรรหา/แต่งตั้งอธิการบดี
  6. การประเมินผลการปฏิบัติงานของอธิการบดี และหัวหน้าส่วนงาน
  7. การส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  8. การพัฒนาคุณภาพสำนักงานสภาฯ
  9. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 

ขอบเขตความรับผิดชอบ  ตามประเภทของงานตรวจสอบภายใน*

                1. งานบริการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Services) หมายถึง การตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ อย่างเที่ยงธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งการประเมินผลอย่างอิสระในกระบวนการกํากับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมของหน่วยงานของรัฐ โดยตัวอย่างของงานบริการให้ความเชื่อมั่น เช่น

                   1.1 การตรวจสอบการเงิน (Financial Audit) หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้อง ความครบถ้วน และความเชื่อถือได้ของข้อมูลการเงิน และรายงานการเงิน การตรวจสอบการปฏิบัติ ตามมาตรฐานการบัญชี นโยบายการบัญชี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ประกาศที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การประเมินความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน และความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อผิดพลาดและการทุจริต ด้านการเงินการบัญชี

                   1.2 การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Audit) หมายถึง การตรวจสอบ การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรี รวมถึงมาตรฐาน แนวปฏิบัติ และนโยบายที่กําหนดไว้

                   1.3 การตรวจสอบการดําเนินงาน (Performance Audit) หมายถึง การตรวจสอบ ความประหยัด ความมีประสิทธิผล ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าของกิจกรรมที่ตรวจสอบ

                   1.4 การตรวจสอบอื่น ๆ หมายถึง การตรวจสอบอื่นนอกเหนือจาก ข้อ 1.1 - 1.3 เช่น การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการประเมินความเสี่ยงและการควบคุม ภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการตรวจสอบพิเศษ (การตรวจสอบตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรณีพิเศษ) เป็นต้น

               2. งานบริการให้คําปรึกษา (Consulting Services) หมายถึง การบริการให้คําปรึกษา แนะนํา และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งลักษณะงานและขอบเขตของงานจะเป็นไปตามข้อตกลงที่ทําขึ้นร่วมกับ ผู้รับบริการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับหน่วยงานของรัฐ และปรับปรุงกระบวนการการกํากับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมของหน่วยงานของรัฐให้ดีขึ้น

              3. งานเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

              4. งานพัฒนาบุคลากร และหน่วยตรวจสอบภายใน

                   - การพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบภายใน และมีความระมัดระวังรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

                   - การประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายใน ทั้งภายในและภายนอก และเสนอรายงานผลประเมินปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแผนปรับปรุงการดำเนินงานเสนออธิการบดี และคณะกรรมการตรวจสอบ

 

*ตามหนังสือกรมบัญชีกลางที่ กค 0409.2/ว614 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เรื่องการกำหนดประเภทของงานตรวจสอบภายใน

** สภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการประชุมครั้งที่ 10/2562 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562 มีมติให้ปรับโครงสร้างสำนักงานสภามหาวิทยาลัย โดยย้ายหน่วยตรวจสอบภายใน จากเดิมสังกัดสำนักงานอธิการบดี มาเป็นส่วนงานภายในของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย

ดูข้อมูลได้ที่ http://intaudit.op.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=16089